คือ การที่อาจารย์เรียกผู้เรียนทำการเปิด case (สรุปเรื่องราวที่ได้อ่านในคืนก่อน) และในบางครั้งในแสดงความคิดเห็นเพิ่มเติมเกี่ยวกับ case การเรียนในลักษณะกรณีศึกษานี้เดิมทีเป็นเอกลักษณ์ของ การเรียนที่โรงเรียนกฎหมาย ซึ่งต้องการให้ผู้เรียนสามารถรับรู้ข้อมูลจำนวนมากจากเหตุการณ์ในอดีตและ สามารถนำประสบการณ์จากผู้เขียนกรณีศึกษาและการได้ discuss ในห้องเรียนไปใช้ งานจริงเมื่อมาทำงานในสำนักงานกฎหมาย ในปัจจุบันการเรียนดังกล่าวได้มีการนำมาใช้อย่างแพร่หลายใน B-School หรือโรงเรียนทางด้านบริหารธุรกิจเพราะจะสามารถให้ผู้เรียนสามารถเก็บเกี่ยวประสบการณ์บริหารได้อย่างรวดเร็ว
เมื่อ นักเรียนท่านแรกได้กล่าวสรุป case เป็นที่เรียบร้อยแล้ว อาจารย์ก็อาจจะ cold call นักเรียนคนที่สองว่าคิดอย่างไร จากนั้นอาจารย์ก็มักจะถามทั้งห้องว่ามีใครที่ไม่เห็นด้วยและเปิดโอกาสให้แสดง เหตุผล ซึ่งในหลายวิชา, การมีส่วนร่วมในห้องเรียนและแสดงความเห็นจะมีผลต่อคะแนนในเทอมนั้นอาจจะมาก ถึง 60% ซึ่งมากกว่าการทำข้อสอบและเขียน paper รวมกันก็ได้ครับ และการเรียนลักษณะดังกล่าวอาจจะทำให้นักเรียนต่างชาติหลายคนมีปัญหาและได้รับคะแนนน้อยในวิชาดังกล่าวได้
ประโยชน์ของ cold call คืออะไร?
โดยส่วนตัวแล้วผมเห็นด้วยกับวิธีการเรียนหนังสือที่มีการใช้ cold call มาเป็นส่วนผสม เนื่องจากการเรียนการสอนในลักษณะดังกล่าวสามารถทำให้นักเรียนมีส่วนร่วมใน การเรียนได้อย่างมากเพราะ การเรียนของ ผู้ใหญ่(ปริญญาโทหรือปริญญาเอก)นี้ บทเรียนก็มาจากความคิดของทั้งเพื่อนร่วมห้องและอาจารย์ นอกจากนั้นห้องเรียนที่มีการ cold call ก็จะเป็นการ “กึ่ง” บังคับให้ผู้เข้าเรียนเตรียม ตัวมาก่อน เข้าเรียน ไม่ใช่มาเป็นเพียงแค่ “ผู้นั่งฟัง” เท่านั้น เราจะเห็นได้ว่าการเรียนโดยมี discussion นี้จะส่งเสริมให้มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ เปิดโอกาสให้เราฝึกฝนทักษะในการเสนอผลงาน, หัดทักษะในการเข้าของประชุม รวมทั้งฝึกทักษะการรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น หากนำ cold call มาใช้ได้อย่างถูกต้องและผู้เรียนมีความตั้งใจ การเรียนการสอนที่มี cold call นี้จะสนุกมากครับ (ไม่มีคนหลับแน่นอนครับ)
เทคนิคของผู้เรียนที่จะประสบความสำเร็จกับการเรียนแบบ cold call
ผู้ที่จะได้คะแนนสูงจากการเรียนที่มีการ cold call ควรปฏิบัติตัวดังนี้
- ต้อง อ่าน หนังสือล่วงหน้าก่อนค่อนข้างเร็ว อ่านเพื่อจับประเด็นใหญ่โดยดูหัวข้อหรือเป้าประสงค์ของการเรียนในครั้งนั้น อย่างเพิ่งสนใจในรายละเอียด
- ควรจะ form กลุ่มเพื่อ discuss case ดังกล่าวก่อนเข้า “สนามรบ”
- คน ที่จะได้ คะแนนสูงไม่จำเป็นต้องเป็นผู้ที่พูดมากที่สุด “พูดน้อย ต่อยหนัก” น่าจะสร้างความประทับได้ดีที่สุด พูดซัก 10-15% ของจำนวนครั้งเรียน
- เตรียม 2-3 cases เป็นพิเศษที่จะเสนอเรื่องราวเป็นพิเศษ และอาสาที่จะ comment เมื่ออาจารย์ถามห้องเรียน
- ใน วันที่เรา พร้อมให้นั่งที่ระดับสายตาของอาจารย์จะได้มีโอกาสได้รับการเลือกให้พูดมาก ขึ้น และถ้าอาจารย์ถนัดขวาให้นั่งด้านซ้ายมือของอาจารย์เพราะจะเป็นตำแหน่งที่มี โอกาสที่อาจารย์จะเห็นเราได้ชัดสูงเมื่ออาจารย์หันกลับจากการเขียนกระดาน และในวันที่ไม่พร้อมให้ทำสิ่งที่ตรงกันข้าม
- อย่าลืมทำบันทึกว่าเราได้พูดในวันไหนบ้างและให้คะแนนตัวเองทุกครั้งหลังการเรียนเพื่อจะทำให้เรารู้สึกกระตือลือร้นครับ
- ฝึก อ่านไว (spead reading), ทักษะการเสนอผลงาน (presentation skill) และ ทักษะการพูดในที่สาธารณะ (public speaking) อาจจะเป็นทักษะพื้นฐานที่จำเป็นสำหรับการเรียนหนังสือที่มี case studies เป็นส่วนประกอบค่อนข้างมากครับ
ของแถมครับ – Warm call คืออะไร?
การ warm call อย่างที่ชื่อบอกนะครับว่ามันไม่ได้ cold (เยือกเย็น หรือใจจืดใจดำ) ในบางครั้งอาจารย์อาจจะรู้สึกว่ามีนักเรียนบางท่านไม่ค่อยได้พูดในห้องเรียน จงไม่สามารถที่จะให้คะแนนการมีส่วน ร่วมได้ อาจารย์อาจจะบอกชื่อผู้เรียนไปล่วงหน้าเลยว่าใครที่จะเป็นผู้เปิด case และ/หรือ ใครที่อาจารย์จะเรียกให้ discuss เป็นพิเศษ
บทความจากดร.สิระ สุทธิคำ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น